50 ทวิ ออกอย่าง Fast ลูกค้า HumanOS ไม่ต้อง Sad รอคอย

50 ทวิ ออกอย่าง Fast
ลูกค้า HumanOS ไม่ต้อง Sad รอคอย
ยื่นขอ “คืนภาษี” เรียบร้อย
ได้เงินแล้ว Enjoy ทันที

ใบ 50 ทวิ คืออะไร?
  • จริง ๆ ก็เริ่มมาจากหลักการทางภาษีที่พื้นฐานที่สุดเลยก็คือ “เมื่อมีรายได้ ก็ต้องจ่ายภาษี เพียงแต่รัฐมองว่า ลำพังจะรอเก็บภาษีทีเดียวปีละครั้ง ก็อาจจะเป็นภาระก้อนใหญ่เกินไปสำหรับผู้จ่ายภาษีบางคน หรือถ้ามีใครเลี่ยงภาษีขึ้นมา รัฐก็จะเสียสภาพคล่อง
  • รัฐก็เลยให้ผู้ที่มีหน้าที่จ่ายรายได้ให้เขา เป็นตัวแทนของรัฐ ช่วยหักภาษีส่วนนึงจากรายได้ของเขาส่งให้รัฐ ก่อนจะจ่ายที่เหลือให้กับผู้มีสิทธิรับรายได้
  • เราเรียกภาษีที่ถูกหักไปก่อนส่วนนึงนี้ว่า “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” เพราะไหน ๆ ก็ต้องจ่ายภาษีกันอยู่แล้ว งั้นทยอยจ่ายตั้งแต่ตอนนี้ จะได้ไม่เป็นภาระก้อนใหญ่ทีหลัง รัฐก็ไม่เสียสภาพคล่องด้วย
  • ก็เลยเป็นที่มาของใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย) คือเอกสารที่จะแสดงรายละเอียดให้เห็นว่า มีการหักภาษี ณ ที่ที่จ่ายเงินนำส่งให้รัฐไปก่อนเท่าไหร่ จากที่ต้องจ่ายจริงคือเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่

ทำไมใบ 50 ทวิ ถึงสำคัญ?

  • เพราะเป็นตัวชี้ชะตาว่า เมื่อคำนวณรายได้ทั้งปีแล้ว เรามีภาระภาษีที่แท้จริงเท่าไหร่ ได้จ่ายผ่านการถูกหัก ณ ที่จ่ายไปก่อนแล้วเท่าไหร่
  • รัฐจะต้องเรียกให้จ่ายค่าภาษีเพิ่ม กรณีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปนั้นยังน้อยกว่าที่ต้องจ่ายจริง
  • รัฐต้องคืนค่าภาษีให้ กรณีที่ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายมากกว่าที่ต้องจ่ายจริง

ใครมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และออกใบ 50 ทวิ? 

  • ผู้รับบทบาทนี้คือผู้ที่มีหน้าที่จ่ายเงินให้เรา
  • กรณีลูกจ้างบริษัท ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายออกให้ก่อน และออกใบ 50 ทวิให้เราเป็นหลักฐานยื่นภาษี ก็คือนายจ้างของเรา
  • แต่กรณีของพนักงานเงินเดือน จะมีข้อสังเกตว่าค่าภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือน จะคำนวณจากการประมาณการรายได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่าง ๆ เท่าที่นายจ้างมีข้อมูล แล้วหารเฉลี่ยเพื่อหัก ณ ที่จ่ายเป็นรายเดือนไป
  • ดังนั้นถ้าปีไหนที่นายจ้างประเมินแล้วว่า รายได้ของเราทั้งปียังไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ก็อาจไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่จะยังมีหน้าที่ออกใบ 50 ทวิให้เป็นหลักฐานอยู่เหมือนเดิม
  • นอกจากนี้ในใบ 50 ทวิของพนักงานเงินเดือน จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินสมทบประกันสังคม และเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถ้ามี ระบุเอาไว้ให้ด้วย ซึ่งก็ใช้เป็นหลักฐานการลดหย่อนภาษีด้วยประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไปในตัว
  • กรณีฟรีแลนซ์ที่รับค่าจ้าง ก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแตกต่างกันไปตามเนื้องานแต่ละประเภท ตามที่กฎหมายกำหนด อย่างค่าจ้างบริการทั่วไป เช่น จ้างรีวิวสินค้า จ้างทำกราฟฟิค ก็จะถูกกำหนดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ 3% เป็นต้น และถ้ายอดที่จ่ายเป็นจำนวนไม่ถึง 1,000 บาท ก็ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.finnomena.com/channel/tax-friend-certificate/

Recently Post

คำนวณเงินเดือนด้วยระบบ Payroll ตัดจบปัญหาจ่ายช้า ข้อมูลผิดพลาด และข้อพิพาททางกฎหมาย

คำนวณเงินเดือนด้วยระบบ Payroll ตัดจบปัญหาจ่ายช้า ข้อมูลผิดพลาด และข้อพิพาททางกฎหมาย

หมดยุคของการทำงานซ้ำซ้อน ยุ่งยาก และหลายขั้นตอนอีกแล้ว เมื่อทุกวันนี้หลายองค์กรหันไปใช้ระบบ...

อ่านเพิ่มเติม
ทำไมการลงทุนในระบบ HR ของ HumanOS จึงคุ้มค่าต่อธุรกิจ

ทำไมการลงทุนในระบบ HR ของ HumanOS จึงคุ้มค่าต่อธุรกิจ

เดิมที เรามักคุ้นชินกับองค์กรธุรกิจที่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคจำนวนหลายคนนั่งอยู่รวมกันเป็นแผนกใหญ่...

อ่านเพิ่มเติม