ภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องจ่ายหรือไม่เมื่อออกจากงาน ?

กองทุนสำรองสำรองเลี้ยงชีพ คือกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อเก็บออมไว้ใช้ในยามที่ลูกจ้างเกษียณอายุหรือลาออกจากงาน ถือเป็นสวัสดิการที่คุ้มค่ากับการลงทุนสำหรับลูกจ้างกินเงินเดือนทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพนักงานทำงานมานานหลายปี ยิ่งจะได้รับเงินเก็บสะสมในกองทุนฯ มากขึ้นตามอายุงาน 

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่พนักงานลาออกจากบริษัทเดิม ก็จะถือว่าเป็นการลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามไปด้วย ซึ่งหากมีการลาออกจากกองทุนฯ ก่อนอายุ 55 ปีหรือเมื่อทำงานไม่ครบ 5 ปี ต้องนำเงินที่ได้มา ไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม เงินที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีเงื่อนไขการเสียภาษีที่แตกต่าง กัน ทั้งนี้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบด้วยเงินทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้

1. เงินสะสม (สมาชิกจ่ายเงินเข้ากองทุนเอง) เงินส่วนนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีแม้ว่าจะสิ้นสุดความเป็นสมาชิกของกองทุนฯ ไม่ว่าจะเป็นการลาออกเอง นำเงินออก หรือถูกให้ออก
2. ผลประโยชน์ที่ได้จากเงินสะสม คือ เงินส่วนที่งอกเงยจากการลงทุนด้วยเงินของพนักงาน
3. เงินสมทบจากนายจ้าง คือ เงินส่วนที่นายจ้างจ่ายสมทบให้กับลูกจ้าง
4. ผลประโยชน์ที่ได้จากเงินสมทบ คือ เงินส่วนที่งอกเงยจากการลงทุนด้วยเงินสมทบของนายจ้าง

สำหรับเงินส่วนที่ได้จากข้อ 2, 3 และ 4 ได้แก่ ผลประโยชน์ที่ได้จากเงินสะสม เงินสมทบจากนายจ้าง และผลประประโยชน์ที่ได้จากเงินสมทบเป็นเงินผลประโยชน์ที่ต้องดูเงื่อนไขอีกครั้งว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ เช่น 

  • อายุพนักงานเมื่อถอนเงิน เงินทั้ง 3 ส่วนนี้ (ข้อ 2, 3 และ 4) จะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวนก็ต่อเมื่อมีการถอนเงินออกเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป ซึ่งหมายความว่า หากมีการถอนเงินก่อนอายุ 55 ปี จะต้องเสียภาษี แต่หากถอนเงินหลังอายุ 55 ปี จะไม่ต้องเสียภาษี 
  • จำนวนปีที่ทำงาน พนักงานจะต้องทำงานและเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ไม่น้อยกว่า 5 ปี จะไม่ต้องเสียภาษี (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพไม่ต้องทำงานถึง 5 ปีก็ได้รับการยกเว้นภาษี)

ในกรณีที่พนักงานมีอายุงานถึง 5 ปี แต่อายุจริงยังไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อมีการถอนเงินออก จะต้องเสียภาษีในรูปแบบใบแนบฯ ซึ่งการเสียภาษีประเภทนี้สามารถหักค่าใช้จ่ายกรณีพิเศษ ทำให้มีการจ่ายภาษีต่ำกว่าภาษีรูปแบบปกติ เช่น หักค่าใช้จ่าย 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน + เงินได้ – 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วย 2 แล้วค่อยนำตัวเลขหลังหักภาษีมาคำนวณตามอัตราก้าวหน้า

ตัวอย่าง

นาย ก ทำงานมาแล้ว 20 ปี และลาออกเมื่ออายุ 50 ปี โดยได้นำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อนำมาใช้จ่าย ในส่วนเงินสะสมของตัวเอง 400,000 และได้รับเงินสมทบของนายจ้าง เงินผลประโยชน์ทั้งส่วนของตัวเองและเงินผลประโยชน์ส่วนของเงินสมทบจากนายจ้าง รวมเป็นเงิน 600,000 บาท จะคำนวณภาษีได้ ดังนี้

วิธีคำนวณภาษี

เงินที่ได้ทั้งหมดเป็นฐานในการคำนวณภาษีนับจาก 3 ส่วนคือ เงินสมทบของนายจ้าง เงินผลประโยชน์ทั้งส่วนของตัวเองและเงินผลประโยชน์ส่วนของเงินสมทบจากนายจ้าง รวมเป็นเงิน 600,000 บาท

ค่าใช้จ่ายที่ถูกหักในกรณีพิเศษ

1. ค่าใช้จ่ายส่วนแรก 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน = 7,000 x 20 = 140,000
2. ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 คือ เงินได้ทั้งหมด ลบด้วย 7,000 คูณจำนวนปีที่ทำงาน แล้วหาร 2
= (600,000 – 70,000) หาร 2 = 265,000 /2 = 132,500
นำค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วนมารวมกัน 140,000 + 132,500 = 272,500
272,500 คือยอดเงินได้หลังหักภาษีกรณีพิเศษตามใบแนบ ที่จะต้องนำไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าของการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เช่น ปี 2561 (ยื่น ปี 2562) เงินได้ 400,000 แรก เสียภาษีอัตรา 10%

ยอดเงินภาษีคือ 272,500 x 10% = 27,250 บาท สรุปได้ว่า เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 600,000 บาท จะต้องเสียภาษี 27,250 บาท 

ทั้งนี้ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อยากลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนฯ และได้งานใหม่ ก็สามารถโอนเงินส่วนนี้ไปที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างคนใหม่ โดยนับอายุการทำงานต่อจากที่ทำงานเดิมต่อได้เลย 

ที่มา : https://mfcfund.com/providentfund,https://www.thaipvd.com/article/home/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/9c316c

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม