การประเมิน 360 องศา เพื่อพัฒนาทุกคนในองค์กร

ในยุคที่สภาวะเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การปรับปรุงมาตราฐาน`องค์กร ประเมินศักยภาพของพนักงาน ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้มองเห็นภาพรวมและความคิดเห็นจากทุกทิศทาง ทั้งในด้านจุดแข็ง พื้นที่ที่ต้องพัฒนา และประสิทธิผลโดยรวม

การประเมิน 360 องศา (360-degree feedback หรือ 360-degree review) เลยเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะสามารถช่วยให้องค์กรมองเห็นภาพรวมเป็นพาโนรามา (Panoramic view) ที่เป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถเห็นทุกอย่างในทุกมุมมอง การประเมิน 360 องศาเลยต้องอาศัยแนวทางที่ครอบคลุมและมีวิธีการวางแผนกลยุทธ์ที่รอบคอบ จากบทความนี้ HumanOS จะไม่ขอพูดถึงความหมาย ข้อดีข้อเสียของระบบการเมินนี้แล้ว แต่จะขอแชร์แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด 5 ข้อที่รวบรวมมาดังนี้

1.การสร้างความไว้ใจและการรักษาความลับ

เริ่มต้นด้วยการสร้างความไว้ใจว่าผลลัพธ์จาการประเมิน 360 องศาจะถูกเก็บเป็นความลับสูงสุด และมีเป้าหมายเป็นการพัฒนาอย่างแท้จริง ไม่ใช่การวิจารณ์จากความทิฐิ ไม่ควรใช้เป็นเครื่องเมื่อเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน และควรสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยเพื่อให้ทุกคนสามารถพูดคุยสะท้อนอย่างเปิดใจ

2.ทบทวนผลลัพธ์ร่วมกัน

การประเมิน 360 องศา สามารถช่วยเน้นทั้งจุดแข็งและพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาได้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งสามารถช่วยวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความมเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งการทบทวนผลลัพธ์ร่วมกันเลยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องช่วยกันให้ฟีดแบ็กที่ได้รับ ซึ่งในบางครั้งอาจจะเกิดการตีความ และความรู้สึกป้องกันตนเอง (Defensiveness) นอกจากนี้ยังช่วยลดความตึงเครียดเพื่อให้การนำข้อมูล หรือ ผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้พัฒนาและวางแผนเส้นทางเดินต่อได้อย่างเป็นระบบได้อีกด้วย 

3.กำหนดเป้าหมายชัดเจนเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่จับต้องได้

การมีเป้าหมายในการประเมินที่ชัดเจนตั้งแต่ต้นก่อนเริ่มการประเมิน โดยอิงจะผลฟีดแบ็กที่จะได้รับ เป้าหมายเหล่านี้ควรเป็นเป้าหมายที่นำไปปฏิบัติและวัดผลได้จริง แล้วต้องสอดคล้องกับบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบด้วย โดยเป้าหมายนี้จะต้องเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ด้วย 

4.แผนปฏิบัติการ (Action Plan)

การมีแผนปฏิบัติการที่รัดกุมและรอบคอบ สามารถระบุรายละเอียดและขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในช่วงเวลาที่กำหนดให้เป็นไปต้ามเป้าหมายที่วางไว้ รวมไปถึงการวางแผนการใช้ทรัพยากาให้เหมาะสม
องค์ประกอบหลักของแผนปฏิบัติกา

  • วัตถุประสงค์ (Objective)
  • กิจกรรรม (Activities)
  • ผู้รับผิดชอบ (Responsibility)
  • ระยะเวลา (Timeline)
  • ทรัพยาการ (Resources)
  • ตัวชี้วัดความสำเร็จ (Success Indicators)
5.กำหนดเวลาการติดตาม

เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการ หรือ การพัฒนานั้นๆ มีการดำเนินการตามเป้าหมายและแผนงานที่ตั้งไว้ แล้วกำลังเดินไปข้างหน้าในทิศทางที่ถูกต้อง อาจจะมีการจัดตารางการประชุมมอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบความล่าช้า หรืออุปสรรคในการดำเนินงาน จะสามารถหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที ทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมิน 360 องศาให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุดในยุคที่สภาวะเศรษฐกิจผันผวนตลอดเวลา การจะปรับแผนงานและทิศทางเพื่อให้สอดรับกับเศรษฐกิจในยุคนี้ อาจจะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางตามบุคคลิก และใช้ฟีดแบ็คที่ได้รับ เปลี่ยนจุดแข็งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น พัฒนาจุดอ่อนและปรับปรุงแก้ไข และวางแผนให้รัดกุมเพื่อการประสิทธิผลโดยรวมขององค์กร ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เรียบเรียง HumanOS
Data : A Coach’s Toolkit: How To Use 360-Degree Survey Feedback

Recently Post

Shaping Workforce of Tomorrow : เตรียมความพร้อม HR ให้ตอบสนองความต้องการในอนาคต

Shaping Workforce of Tomorrow : เตรียมความพร้อม HR ให้ตอบสนองความต้องการในอนาคต

ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น AI,...

อ่านเพิ่มเติม
ถอดสมาการความสุข ว่าด้วยเรื่องความสุขของพนักงาน

ถอดสมาการความสุข ว่าด้วยเรื่องความสุขของพนักงาน

ในโลกของการแข่งขันของธุรกิจปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันสูง ทุกองค์กรล้วนต้องปรับตัวให้ทัน...

อ่านเพิ่มเติม