เอกสารยื่นหน่วยงานราชการสำหรับนายจ้าง

รู้ยัง? ถ้าคุณเป็นนายจ้างที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป คุณต้องเตรียมเอกสารเพียบ ไม่ใช่แค่การยื่นภาษี แต่ยังต้องยื่นประกันสังคมด้วย! แต่ไม่ต้องห่วง HumanOS มาสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ตั้งแต่ สปส. 1-01, ภงด. 1, สปส. 1-03 และอีกเพียบ เราจะช่วยให้คุณพร้อมลุยแบบไม่พลาด!

เอกสารแจ้งแก่สำนักงานประกันสังคม

สปส.1-10 

คือฟอร์มแจ้งการส่งเงินสมทบประจำเดือนสำหรับพนักงานแต่ละคน โดยคุณต้องยื่นกับสำนักงานประกันสังคมทุกต้นเดือน ฟอร์มนี้บอกว่าเงินเดือนพนักงานแต่ละคนเท่าไหร่ และหักส่งสมทบประกันสังคมแค่ไหน

สปส.1-03

คือ สำหรับพนักงานใหม่ที่ไม่เคยมีประกันสังคม ฟอร์มนี้ใช้ขึ้นทะเบียนให้พวกเขา แต่ถ้าลูกจ้างเคยมีประกันสังคมมาก่อน ใช้ฟอร์ม สปส. 1-03/1 แทน

สปส. 6-09
เมื่อมีพนักงานลาออก ฟอร์มนี้จะใช้แจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน อย่าลืมยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ถ้าพลาดปรับสูงสุด 20,000 บาท หรือต้องติดคุก ไม่เอาแบบนั้นดีกว่า!

นายจ้างหรือบริษัทสามารถส่งข้อมูลผู้ประกันตนของลูกจ้างให้แก่สำนักงานประกันสังคม ได้ดังนี้

– ยื่นแบบฟอร์มแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10)

– ยื่นผ่านระบบออนไลน์

หลักฐานที่ต้องเตรียมไปในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน

  • กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบอนุญาตทำงานและสำเนา Passport ในกรณีลูกจ้างเป็นชาวต่างชาติ
  • ส่วนลูกจ้าง ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ใช้ฟอร์ม (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

หลังยื่นเอกสารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายจ้างจะต้องจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส. 1-10 ส่วนที่ 2 เพื่อหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างและส่งเงินสมทบในจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างทั้งหมด จากนั้นนำส่งกองทุนประกันสังคม โดยทำได้ 2 ทางดังนี้

  • นำส่งสำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่/จังหวัดด้วยตัวเองหรือทางไปรษณีย์ เป็นเงินสดหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • ชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต สาขาในจังหวัดที่บริษัทตั้งอยู่

สปส. 6-09 

คือ แบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ใช้ในกรณีพนักงานลาออก
ให้บริษัทแจ้งตั้งแต่วันที่ลูกจ้างสิ้นสุดการทำงานไม่เกินวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เอกสารเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายของพนักงาน

ภงด.1

ฟอร์มนี้สำหรับยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายของพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานภาษี ถ้าไม่ถึงก็ไม่ต้องยื่น สบายๆ

ภงด.1ก
ฟอร์มนี้เป็นการสรุปเงินเดือนของพนักงานทั้งหมดและยื่นในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป แต่ถ้าคุณทำธุรกิจแบบเดี่ยวๆ ไม่มีลูกจ้าง ก็ไม่ต้องยื่นจ้า

50 ทวิ
นี่คือใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย พนักงานจะได้ไป 2 ฉบับ: หนึ่งสำหรับยื่นภาษี สองเก็บไว้เป็นหลักฐาน

กท. 20
ฟอร์มแสดงเงินค่าจ้างประจำปีเพื่อจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทน ซึ่งเป็นกองทุนที่ช่วยพนักงานในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือป่วยจากการทำงาน

เอกสารสำหรับยี่นเช้ากองทุนเงินทดแทน

กท. 20 คือ แบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปีที่นายจ้างต้องยื่นให้ลูกจ้างทุกปีเพื่อจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทน

โดยกองเงินทุนทดแทนนี้เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรืออันตรายถึงชีวิตเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างโดยนายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพียงฝ่ายเดียวและเก็บปีละ 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 – ภายใน 31 มกราคมของทุกปี เรียกว่า “เงินสมทบประจำปี” (เว้นแต่ปีแรกที่ขึ้นทะเบียน นายจ้างต้องจ่ายภายใน 30 วันนับแต่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป)

ครั้งที่ 2 – ภายใน 31 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า “เงินสมทบจากการรายงานค่าจ้าง”

โหลดเอกสารได้เลย! คุณสามารถดาวน์โหลดเอกสารทั้งหมดได้จากเว็บของกรมสรรพากร (http://www.rd.go.th) แต่ถ้าไม่อยากปวดหัวกับเอกสารเยอะแยะ ลองใช้ HumanOS ช่วยคุณได้! จัดการเรื่องเอกสาร ประกันสังคม ภาษี และเงินเดือนให้คุณแบบง่ายๆ ทดลองใช้งานฟรีที่https://humanos.biz/ แล้วคุณจะรู้ว่าการเป็นนายจ้างไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด!

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม
ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

สำนักงานประกันสังคมเตรียมปรับเพดานค่าจ้างใหม่ 17,500-23,000 บาท เพิ่มบำนาญ-เงินทดแทนให้ผู้ประกันตน...

อ่านเพิ่มเติม