การเตรียมตัวในช่วงสิ้นปี เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทีมทรัพยากรบุคคล (HR) ควรดำเนินการเพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในปีถัดไป วันนี้ HumanOS ขอแชร์บทความจาก HR-ODTHAI เพื่อส่งต่อเช็คลิตส์ให้เหล่าเจ้าหน้าที่ HR ได้เตรียวตัวก่อนสิ้นปีที่กำลังจะมาถึงนี้ค่ะ
ประกาศวันหยุดประจำปี 2568
วันหยุดประจำสัปดาห์
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- มาตรา 28 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
- ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป้า งานในที่ทุรกันดารหรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฏกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน
- วันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นอำนาจของนายจ้างในการที่จะกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์วันไหนก็ได้ โดยนายจ้างอาจจะกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ลูกจ้างสลับกันหยุดในวันใดก็ได้ โดยกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องวันหยุดประจำสัปดาห์เอาไว้ดังนี้
- นายจ้าง ต้องจัดวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ลูกจ้าง ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยกำหนดวันใดก็ได้ และลูกจ้างแต่ละคน อาจมีวันหยุดประจำสัปดาห์ในวันที่แตกต่างกันก็ได้ ซึ่งหมายถึงทำงานได้สูงสุดไม่เกิน 6 วัน จะต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ 1 วัน
- วันหยุดประจำสัปดาห์ ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
- งานบางลักษณะที่ไม่สามารถหยุดประจำสัปดาห์ได้ นายจ้าง และลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสม และเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ออกไปได้ แต่ห้ามเลื่อนออกไปเกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
วันหยุดตามประเพณี
- มาตรา 29 ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประ เพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
- ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น
- ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป
- ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้ เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้
- วันหยุดตามประเพณี กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดขึ้นเพื่อให้ลูกจ้างได้มีโอกาสหยุดในวันสำคัญทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณี ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันดังกล่าว โดยนายจ้างไม่สามารถกำหนดวันหยุดตามประเพณีตามอำเภอใจได้ โดยกฎหมายฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องวันหยุดตามประเพณีไว้ดังนี้
- นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
- จำนวนวันหยุดตามประเพณีในแต่ละปีต้องไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน
- การกำหนดวันหยุดตามประเพณีนั้นให้รวมวันแรงงานแห่งชาติเอาไว้ด้วย และให้กำหนดจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น
- ถ้าวันหยุดตามประเพณีที่กำหนดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
- ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” นายจ้างกับลูกจ้างสามารถตกลงกันได้ดังนี้
5.1 หยุดชดเชยในวันอื่น หรือ
5.2 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้
วันหยุดพักผ่อนประจำปี
- มาตรา 30 ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าว ให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
- ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้
- นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้
- สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้
- การทำงานของลูกจ้างนั้นจะต้องมีการหยุดพัก ทั้งนี้เพื่อมิให้ลูกจ้างต้องตรากตรำในการทำงานด้วยเหตุนี้กฎหมายคุ้มครองแรงาน จึงบัญญัติในเรื่องของวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับลูกจ้างเอาไว้ โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดหรือตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน โดยกฎหมาย ฯ กำหนดหลักเกณฑ์เรื่อง วันหยุดพักผ่อนประจำปีไว้ดังนี้
- ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน
- การเกิดสิทธิของลูกจ้างจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างทำงานกับนายจ้างครบ 1 ปีแรกแล้ว
- วันหยุดพักผ่อนประจำปีนายจ้างเป็นผู้กำหนดให้ลูกจ้างล่วงหน้าหรืออาจจะกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
- วันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมนั้น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่ได้บังคับว่นายจ้างจะต้องกำหนดให้กับลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างบางรายอาจไม่ได้มีการกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้กับลูกจ้างก็ได้ แต่ประเด็นที่สำคัญคือการสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปนั้นจะสะสมได้เฉพาะในกรณีของวันหยุดพักผ่อนประจำปีในส่วนที่เกินจาก 6 วัน และนายจ้างตกลงกับลูกจ้างให้สามารถนำวันหยุดฯ ในส่วนที่เกิน 6 วัน นำไปสะสมในปีถัดไปได้
- ในกรณีที่มีการกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับลูกจ้างมากกว่า 6 วันต่อปี แต่นายจ้างและลูกจ้างมีการกำหนดตกลงกันให้มีการสะสมวันหยุดฯ ในส่วนที่เกิน 6 วันก็ได้
- สำหรับลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้างยังไม่ครบ 1 ปีแรก นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับลูกจ้างได้ โดยใช้วิธีการคำนณตามสัดส่วน ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้ เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของการกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับลูกจ้างแต่ละคน เหตุผลเนื่องจากลูกจ้างแต่ละคนเข้างานไม่พร้อมกัน และจะมีอายุงานครบ 1 ปี และกิดสิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่พร้อมกัน ประกอบกับ
กฎหมายฯกำหนดสิทธิการได้วันหยุดพักผ่อนประจำปีจะเกิดขึ้น ครั้งแรกต่อเมื่อลูกจ้างทำงานครบ 1 ปีด้วยเหตุนี้กฎหมาย ฯ จึงกำหนดให้ลูกจ้าง ซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้กับลูกจ้างตามสัดส่วนได้
ประกาศกฎระเบียบประจำปี 2568
สวัสดิการแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของลูกจ้างรวมถึงครอบครัวดีขึ้นความเอื้ออาทรของนายจ้างโดยการจัดสวัสดิการแรงงานให้แก่ลูกจ้าง ย่อมทำให้ลูกจ้างมีความรัก ความผูกพันต่อนายจ้าง ทำให้ลูกจ้างเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานซึ่งทำให้ผลผลิตของลูกจ้างมีปริมาณสูงขึ้น และคุณภาพสูงขึ้นในขณะเดียวกันการจัดสวัสดิการแรงงานให้แก่ลูกจ้างยังช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างช่วยลดปัญหาและข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการทำให้การประกอบกิจการของนายจ้างดำเนินไปอย่างราบรื่น
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ปฏิบัติภารกิจด้านสวัสดิการแรงงาน โดยการส่งเสริม ให้มีการจัดสวัสดิการขึ้นในสถานประกอบกิจการ โดยเห็นว่าการที่ลูกจ้างได้รับสวัสดิการที่ดี นอกจากทำให้ลูกจ้าง เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีแล้ว ยังส่งผลให้ลูกจ้างลดการขาดงาน ลางานและเปลี่ยนงานบ่อย ในที่สุดจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานและผลิตภาพใน การทำงาน ภายใต้กรอบภารกิจดังกล่าว สวัสดิการแรงงานได้ถูกจัดแบ่งออกเป็น2 ประเภท คือ
- สวัสดิการแรงงานตามกฎหมาย
- สวัสดิการแรงงานนอกเหนือกฎหมาย
จัดทำ ACTION PLAN HR ปี 2568
Action Plan หรือ แผนการดำเนินการของทีมทรัพยากรบุคคล (HR) เป็นเอกสารที่ระบุกิจกรรมและวิธีการที่ทีม HR จะดำเนินการเพื่อปรับปรุงความประสบความสำเร็จในงาน และสนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์กร ขั้นตอนที่สามารถนำมาสร้าง Action Plan ของทีม HR ยกตัวอย่างเช่น
- วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน
– ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของทีม HR
– ระบุพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุงและโอกาสที่สามารถให้ความสำคัญ - กำหนดวัตถุประสงค์
– กำหนดวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ Action Plan ทำให้เกิดขึ้น
– ระบุผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการดำเนินการ - กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด
– กำหนดเป้าหมายที่ทีม HR ต้องการบรรลุ
– ระบุตัวชี้วัดที่ใช้วัดความสำเร็จของแต่ละกิจกรรม - ระบุกิจกรรมและการดำเนินการ
– ระบุกิจกรรมที่จะทำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
– ระบุขั้นตอนการดำเนินการและผู้รับผิดชอบ - กำหนดระยะเวลา
– กำหนดระยะเวลาที่จะทำให้แต่ละกิจกรรม.
– ระบุกำหนดการที่มีความเป็นไปได้ - ระบุทรัพยากรที่ต้องใช้
– ระบุทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินการแต่ละกิจกรรม
– พิจารณาการจัดหาทรัพยากรเพิ่มเติมที่จะต้องใช้ - วางแผนการสื่อสาร
– วางแผนการสื่อสารกับทีมและส่วนหนึ่งในองค์กร
– ระบุช่องทางการสื่อสารและเนื้อหาที่สื่อถึง - ระบุกลยุทธ์การจัดการ
– ระบุกลยุทธ์ที่จะใช้ในการดำเนินการ
– พิจารณาเทคโนโลยีและเครื่องมือที่สามารถใช้เพิ่มประสิทธิภาพ. - วางแผนการติดตามและประเมินผล
– วางแผนการติดตามความก้าวหน้าของแผนการ
– ระบุวิธีการประเมินผลและปรับปรุงตามไป - รายงานและสรุป
– วางแผนการรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินการ
– สรุปและจดบันทึกเรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุงใน Action Plan ครั้งถัดไป
การสร้าง Action Plan นี้จะช่วยให้ทีม HR มีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทำภารกิจของทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ต่อองค์กร
จัดทำ TRAINING NEED 2568
การจัดทำ Training Needs Analysis (TNA) หรือการประเมินความต้องการในการฝึกอบรม (Training Needs) เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ทีมทรัพยากรบุคคล (HR) หรือผู้ดูแลการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรเข้าใจความต้องการของพนักงานในการพัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็น
จัดทำ BUDGET PLAN ปี 2568
การจัดทำ Budget Plan หรือ แผนงบประมาณเป็นกระบวนการที่สำคัญในการวางแผนและบริหารการเงินขององค์กรหรือโครงการ. ด้วยการสร้างแผนงบประมาณอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ, องค์กรสามารถจัดทำการเงินให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และความต้องการทางธุรกิจ
ที่มา : https://xn--12cga7eqwzadid1a3f1a4cs6gn9syd.com/checklist-for-hr/