เอกสารทวิ 50 คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการยื่นภาษี

อะไรคือ ทวิ 50  “คุณเคยได้ยินถึง ‘แบบฟอร์ม ทวิ 50’ ไหม?
แบบฟอร์ม ทวิ 50 หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา ทวิ 50 แห่งประมวลรัษฎากร เป็น หนังสือที่ผู้จ่ายเงินซึ่งได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ออกไปให้กับผู้รับเงินซึ่งผู้รับเงินใช้เป็นหลักฐานการหักภาษีที่ ณ ที่จ่าย

คุณจะได้รับ เอกสารทวิ 50 ตอนไหน

1. เมื่อมีการจ่าย ค่าจ้าง, ค่านายหน้า, เงินเดือน ฯลฯ
เอกสาร ทวิ 50 จะออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานระหว่างปี เอกสาร ทวิ 50 จะถูกออกให้ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน

2. เมื่อมีการจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับฟรีแลนซ์
เอกสาร ทวิ 50 จะออกทันที ณ ที่จ่าย หากฟรีแลนซ์ไม่ได้รับเอกสาร ทวิ 50 จากบริษัทในทันที แนะนำให้รีบติดต่อสอบถามแผนกบุคคลหรือผู้จ่ายเงินของบริษัทนั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการส่งข้อมูลของเอกสาร ทวิ 50

เอกสาร 50ทวิ มีประโยชน์อย่างไร

  1. ใช้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี ผู้เสียภาษีสามารถนำไปยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปีกับกรมสรรพากรได้เพื่อลดหย่อนภาษีที่ต้องชำระตอนสิ้นปี หากภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปน้อยกว่าที่ต้องจ่ายจริง จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มแก่กรมสรรพากร
  2. ใช้ยื่นขอคืนภาษี ในกรณีที่ผู้เสียภาษีถูกหักภาษีไว้มากกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระทั้งปี สามารถใช้เอกสาร ทวิ 50 ยื่นเพื่อขอคืนภาษีได้จากกรมสรรพากร
  3. ใช้เป็นหลักฐานแสดงความมั่นคงทางการเงิน เอกสาร ทวิ 50 ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงความมั่นคงทางการเงินแก่สถาบันการเงิน เช่น การขอทำบัตรเครดิต
ข้อได้เปรียบในการใช้ HumanOS ในการออกเอกสาร  ทวิ 50
  1. การโหลดเอกสารง่ายๆ ผู้เสียภาษีสามารถโหลดเอกสาร ทวิ 50 ได้ง่ายๆ พร้อมการกรอกข้อมูลให้อัตโนมัติ และส่งให้กรมสรรพากรได้ทันที
  2. สะดวกสบายทั้งต่อ HR และพนักงาน ลดเวลาในการทำหรือติดตามร้องขอเอกสารต่างๆ
  3. สำหรับพนักงานที่ลาออก ฝ่าย HR สามารถตั้งค่าระบบให้พนักงานที่ลาออกสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่จำเป็นต่างๆ ได้

ที่มา :
https://www.ddproperty.com/
https://www.finnomena.com/
https://www.itax.in.th/

Recently Post

สิทธิพิเศษ! ยกเว้นภาษีเงินได้ 190,000 บาท แก่ผู้สูงอายุ 65 ปี และผู้พิการ

สิทธิพิเศษ! ยกเว้นภาษีเงินได้ 190,000 บาท แก่ผู้สูงอายุ 65 ปี และผู้พิการ

ใครที่มีบิดามารดาอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปหรือเป็นคนที่ต้องดูแลผู้พิการในครอบครัว...

อ่านเพิ่มเติม