จ่ายโอทีให้ถูกกฎหมาย และไม่เอาเปรียบพนักงาน

ยิ่งทำมาก ยิ่งได้ (เงิน) มาก คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงสำหรับชาวออฟฟิศที่ขยันทำโอทีอยู่บ่อยๆ เพราะตามกฎหมายแรงงาน การทำงานนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติหรือทำโอที นายจ้างจะต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้าง 1.5 หรือ 3 เท่าของจำนวนค่าจ้างต่อชั่วโมง

ตามกฎหมายแล้วเวลาทำงานปกติ คือ 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือตามข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง แต่ต้องรวมแล้วไม่เกิน 48 ชม./สัปดาห์ 

ส่วนที่นอกเหนือไปจากเวลาทำงานปกติ ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาหรือโอที ซึ่งกฎหมายแรงงานกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินพิเศษให้กับลูกจ้าง ตามมาตรา 61 และมาตรา 63 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 วิธีคำนวณให้นำค่าจ้างรายชั่วโมงคูณด้วย 1.5 เท่า สำหรับวันทำงานปกติ แต่หากทำงานล่วงเวลาในวันหยุดจะต้องคูณด้วย 3 เท่าของค่าจ้างรายชั่วโมง 

ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างได้เงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท เวลาทำงานปกติ 8.00-17.00 น. พักเที่ยง 1 ชั่วโมง มีการทำงานล่วงเวลาตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. รวมเวลาทำงานล่วงเวลา 4 ชั่วโมง ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างเท่าไหร่ ? ให้นำจำนวนค่าจ้างรายชั่วโมงคูณ 1.5 เท่า (แต่ถ้าทำงานล่วงเวลาวันหยุดต้องคูณด้วย 3 เท่า) วิธีคำนวณ ดังนี้

  1. เงินเดือน 20,000 บาท หาร 30 วัน เพื่อคำนวณหาค่าจ้างรายวัน = ค่าจ้างต่อวัน 667 บาท
  2. นำค่าจ้างรายวันมาทำให้เป็นค่าจ้างรายชั่วโมง โดยคำนวณจากเวลาทำงานกี่ชั่วโมงต่อวัน จากตัวอย่างนี้คือ 8 ชั่วโมง หารกับค่าจ้างรายวัน คือ 667 บาท = ค่าจ้างชั่วโมงละ 83 บาท
  3. นำค่าจ้างรายชั่วโมง 83 บาทไปคูณด้วยอัตราค่าทำงานล่วงเวลา 1.5 เท่า =ค่าล่วงเวลาชั่วโมงละ 132 บาท
  4. นำจำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา คูณกับค่าทำงานล่วงเวลา จากตัวอย่าง ทำงานล่วงเวลา 4 ชั่วโมง คูณกับค่าทำงานล่วงเวลาต่อชั่วโมง คือ 132 บาท = ค่าล่วงเวลาที่จะได้รับ 528 บาท

อย่างไรก็ตาม การทำงานล่วงเวลานั้น กฎหมายกำหนดให้ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา จะต้องรวมแล้วไม่เกิน 36 ชั่วโมงสัปดาห์ กรณีที่ทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ลูกจ้างต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 20 นาทีก่อนจะเริ่มทำโอที (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกัน แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน) 

ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้น จะต้องระวางโทษขั้นต่ำคือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยนายจ้างต้องชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผลคดี 

ข้อยกเว้นสำหรับงานบางประเภทที่ไม่ได้ค่าโอที 1.5 หรือ 3 เท่า ได้แก่ งาน รปภ. งานอ่านค่าระดับน้ำ งานเฝ่าสถานที่ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ปกติ เช่น ครูมาเข้าเวรนอนโรงเรียน เป็นต้น

ที่มา https://bit.ly/44VMlQD , https://bit.ly/3K7ZmNr

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม