กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund)

กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund) คือ กองทุนที่รัฐบาลไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฝ่ายละเท่า ๆ กัน โดยเงินสมทบที่ได้มาจะถูกนำไปจัดตั้งเป็นกองทุนและจ่ายเป็นผลประโยชน์ทดแทนหรือให้ความคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง

  1. ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • กรณีเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) รพ.รัฐ จ่ายตามจริง และรพ.เอกชน จ่ายไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง
    • กรณีเป็นผู้ป่วยใน (IPD)
      • รพ.รัฐ จ่ายตามจริง ยกเว้นค่าห้อง และอาหาร จ่ายไม่เกินวันละ 700 บาท ส่วน
      • รพ.เอกชน จ่ายไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องและอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท หากมีการรักษาในห้อง ICU จ่ายไม่เกินวันละ 4,500 บาท และหากผ่าตัดใหญ่ จ่ายไม่เกิน 8,000-16,000 บาท
  2. .ค่าคลอดบุตร จ่ายตามจริง 13,000 บาท และลูกจ้างหญิงจะได้รับเงินจากการลาคลอด 50% ของเงินเดือนเป็นเวลา 90 วันหลังคลอด ใช้สิทธิได้กับการคลอดบุตรคนที่ 1 และ 2 เท่านั้น
  3. ค่าสงเคราะห์บุตร จ่ายตามจริง 600 บาท เป็นเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี
  4. ว่างงาน เงินทดแทนกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (ค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท) ในระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 3 เดือนต่อปี
  5. ทุพพลภาพ เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ 50% ของค่าจ้างรายเดือน (ค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท) ตลอดชีวิต
  6. ชราภาพ
    • บำนาญชราภาพรายเดือน 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท)
    • บำเหน็จชราภาพ จ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายเข้าประกันสังคมพร้อมเงินสมทบจากนายจ้าง และผลตอบแทนจากกองทุนประกันสังคม
  7. เสียชีวิต ค่าทำศพ 40,000 บาท

ตารางเปรียบเทียบ กองทุนทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม

  • ผู้ประกันตนภาคบังคับ: เป็นผู้ที่ทำงานกับนายจ้างและต้องจ่ายเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคม นายจ้างก็จะจ่ายเงินสมทบส่วนหนึ่งและลูกจ้างก็จะจ่ายอีกส่วนหนึ่ง
  • ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ: ผู้ที่ไม่ได้ทำงานประจำสามารถสมัครเข้าระบบประกันสังคมเองและจ่ายเงินสมทบเอง

ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิ์ได้โดยการแสดงบัตรประกันสังคมเมื่อเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลที่เข้าร่วมในระบบประกันสังคม หรือติดต่อสำนักงานประกันสังคมในกรณีต้องการใช้สิทธิ์ประเภทอื่นๆ เช่น การขอเงินชดเชยในกรณีว่างงาน

  • ให้ความมั่นคงในชีวิตเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
  • ลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ
  • สร้างความมั่นคงในการวางแผนเกษียณอายุ
  • ช่วยเหลือและสนับสนุนในกรณีทุพพลภาพหรือคลอดบุตร

การมีกองทุนสำหรับพนักงานจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทั้งในด้านการสร้างความมั่นคงให้กับพนักงานและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรในระยะยาว อย่างกองทุนประกันสังคมเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตการทำงาน และให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น การเจ็บป่วย การว่างงาน หรือการเกษียณอายุ

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม