9 วิธีจัดการความเครียดในที่ทำงาน

ความเครียดจากที่ทำงานเป็นสาเหตุปัจจัยหลักของคนในยุคนี้ ความเครียดจากที่ทำงานนั้นเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย ซึ่งล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมากมาย ดังนั้นเราควรหาวิธีจัดการกับความเครียดเพื่อให้ชีวิตกลับมาสู่สภาวะสมดุลและปกติสุขด้านร่างกายและจิตใจ

ดร. อลิซาเบท สก็อต  นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยซานดิเอโก้ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้ว่า ในการจัดการกับความเครียดในที่ทำงานอาจต้องใช้เทคนิคต่างๆ ได้แก่

1. เตรียมความพร้อมในตอนเช้า ด้วยการจัดการกับเรื่องส่วนตัวให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น การรับ-ส่งลูก `จัดเตรียมอาหารเช้าที่มีประโยชน์ มีการวางแผน เตรียมการไว้ล่วงหน้า  เพื่อพร้อมรับมือกับการทำงานที่อาจต้องเจอกับความเครียดและความกดดันในเวลาต่อมา

2. วางเป้าหมายให้ชัดเจน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเราเกิดความเครียดคือการไม่รู้บทบาทของตัวเองที่ชัดเจน และไม่มีเป้าหมายของการทำงานว่าต้องการอะไร หรือควรทำอะไรก่อนเป็นสำคัญ

3. หลีกเลี่ยงการปะทะ พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรรักษาสัมพันธภาพที่ดีไว้เพื่อลดความเครียดในการทำงาน

4. จัดระเบียบงาน พยายามวางแผนงานล่วงหน้า ไม่รีบรนลานในตอนเช้า พยายามมาก่อนเวลา เพื่อเลี่ยงสถานการณ์ฉุกละหุกที่ไม่เป็นไปตามแผน

5.จัดที่นั่งในออฟฟิตที่ต้องนั่งทำงานนานๆ ให้รู้สึกสบายที่สุด ดูแลใส่ใจเรื่องโต๊ะ เก้าอี้ และเสียงรบกวน ดูแลตัวเองให้อยู่ในสภาพที่รู้สึกสบายผ่อนคลายและสามารถโฟกัสกับการทำงานได้

6. ไม่ทำงานนานติดต่อกันยาวจนเกินไป เพราะนอกจากร่างกายจะเหนื่อยล้าทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพแล้วยังส่งผลเสียต่อสุขภาพอีกด้วย

7. พักเบรคทานกลางวัน ด้วยการเดินออกไปจากโต๊ะทำงาน เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ และทำให้จิตใจได้ผ่อนคลายหยุดพักจากความเหนื่อยล้า 

8. ชีวิตไม่จำเป็นต้องสมบรูณ์แบบในทุกๆ อย่างเพียงแต่ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดก็พอ

9. ควรฟังเพลงผ่อนคลายระหว่างเดินทางกลับบ้าน

จะเห็นได้ว่าความเครียดจากการทำงานนั้นมีสาเหตุปัจจัยมากมายแต่การเตรียมพร้อมรับมือกับความเครียดเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า หากเกิดความเครียดต้องรีบจัดการไม่ควรปล่อยปละละเลย หรือไม่ใส่ใจ ความเครียดที่เกิดขึ้นในทุกวัน ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากความเครียดนั้นบ่อนทำลายสุขภาพ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของคนทำงาน ทั้งยังส่งผลเสียต่อวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทอีกด้วย

จากผลการวิจัยพบว่า ความเครียดที่สูงเกินระดับปกตินั้นปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจในการทำงาน เมื่อพนักงานเกิดความเครียดมากขึ้นก็จะไม่อยากทำงานร่วมทีมกับผู้อื่นและมักไปหาวิธีผ่อนคลายด้วยวิธีสูบบุหรื่หรือดื่มสุราแทน ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทรุดโทรมตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจป่วยเป็นโรคหัวใจ ภูมิต้านทานบกพร่อง รวมทั้งยังส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพจิตใจที่ร้ายแรงอีกด้วย

ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงความเสียหายของบริษัทที่ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นของพนักงาน รวมทั้งประสิทธิภาพการทำงานที่ด้อยลง และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการขาดงานบ่อย หรือลาออกในที่สุด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดในที่ทำงานโดยมากมักมาจากเรื่อง


1 ปัญหาสัมพันธภาพ
ความสัมพันธในที่ทำงานที่ไม่ดีส่งผลทำให้คนทำงานเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ดังนั้นการเชื่อมสัมพันธภาพในที่ทำงานจึงมีความสำคัญมากต่อคนทำงาน ทำให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่อยู่รอบตัว ทำให้เกิดการปรับตัว และมีการปรับสภาพอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น

2. ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงาน
การที่พนักงานไม่ได้รับการอบรมก่อนเริ่มงาน หรือไม่มีทิศทางการทำงานที่ชัดเจนจากหัวหน้างาน และหน้าที่และความรับผิดชอบเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาย่อมทำให้เกิดความสับสนและความเครียดได้
ควรแก้ไขด้วยการระบุความชัดเจนในการงานและความรับผิดชอบ หรือควรสรรหาบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งและประสบการณ์เพื่อทำให้งานมีคุณภาพตามที่ต้องการ

3.งานล้นมือมากเกินไป
การทำงานที่หนักเป็นเวลานานเกิน8 ชม.ย่อมส่งผลต่อความเครียด หากเป็นแบบนี้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการจัดสมดุล work-life balance ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ด้อยลง และส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างแน่นอน

4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหน่วยงาน
ช่วงเวลาที่องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงนั้นมักทำให้คนทำงานเกิดความเครียดในการปรับตัวช่วงแรกๆ เสมอ ดังนั้นควรเตรียมตัวในการทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

5. สภาพแวดล้อมเป็นพิษ
การถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อความเครียดและส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของคนทำงาน


6 งานไม่มีความมั่นคง
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีผลต่อการอยู่รอดของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง สถานการณ์โรคระบาดโควิดทำให้เกิดการเลิกจ้างงานจำนวนมาก หรือบางบริษัทที่อยู่รอดก็เน้นให้พนักงานทำงานอยู่กับบ้าน ซึ่งเกิดความไม่สมดุล ไม่มีwork life balance เหมือนทำงานตลอดเวลา ซึ่งส่งผลต่อความเครียดอย่างหนักในคนทำงาน


7. ขาดแรงจูงใน
การได้ค่าตอบแทนเพิ่มแต่ไม่ได้พักผ่อน อาจทำให้พนักงานเกิดความเครียดสะสม เบื่องานและขาดแรงจูงใจในการสู้งานต่อไป บริษัทอาจต้องพิจรณาแรงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินแต่อาจให้เวลาในการได้อยู่กับครอบครัว หรือสนับสนุนด้านการพัฒนาตนเองในการทำงานมากกว่ามุ่งแต่การแข่งขันทำกำไรเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตามคนทำงานควรปรับสมดุลชีวิตให้สมดุล ทั้งชีวิตครอบครัวและชีวิตการทำงานให้เหมาะสม ให้ตัวเองมีความสุขและหาเวลาผ่อนคลายจากการทำงานเพราะความเครียดสะสมนั้นสามารถคร่าชีวิตคนเราได้

หากรู้สึกว่าความเครียดทีเกิดจากการทำงานนั้นมีมากเกินกว่าจะจัดการได้ด้วยตนเองเพียงลำพังได้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับการดูแลแก้ไขที่ถูกวิธี

อ้างอิง
https://www.verywellmind.com/how-to-deal-with-stress-at-work-3145273
https://www.betterup.com/blog/stress-management-at-work

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม
ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

สำนักงานประกันสังคมเตรียมปรับเพดานค่าจ้างใหม่ 17,500-23,000 บาท เพิ่มบำนาญ-เงินทดแทนให้ผู้ประกันตน...

อ่านเพิ่มเติม