กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ปัจจุบันกองทุนได้มีพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 กำหนดให้สถานประกอบการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงาน เพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนฯ แจ้งให้ทราบ
โดยมีกำหนดยื่นส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากสถานประกอบการไม่ได้ดำเนินการจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละสองต่อเดือนจากยอดเงินที่ต้องนำส่ง
พนักงานคนไหนที่ต้องหัก กยศ.
พนักงานที่เป็นผู้กู้ยืมเงินที่ถึงครบกำหนดชำระหนี้ทุกราย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเข้าสู่ระบบการหักชำระผ่านนายจ้างทุกราย จนกว่าจะครบจำนวนเงินในสัญญา
หากนายจ้างไม่สามารถหักเงินเดือนพนักงานตามที่กองทุนฯ ได้แจ้งไว้ เช่น หักได้ไม่เต็มจำนวนหรือนำส่งเป็นยอด 0 บาท ให้แจ้งเหตุผลต่อกองทุนผ่านระบบ e-PaySLF ซึ่งพนักงานจะต้องอยู่ในสถานะดังต่อไปนี้
- ลาออก ถูกปลดออก ไล่ออก หรือโอนย้าย
- รายได้คงเหลือไม่พอหักเงินเพื่อชำระหนี้ (หลังหักรายการตามกฎหมาย)
- ลาโดยไม่ได้รับเงินเดือน
- ได้รับโทษทางวินัยไม่ได้รับเงินเดือน
- ชำระหนี้เสร็จสิ้น
- มีสถานะพักการจ้างโดยไม่ได้รับเงินเดือน
- ไม่เป็นพนักงาน/ลูกจ้างของหน่วยงาน
- เสียชีวิต
พร้อมใช้งานแล้ว นำเข้าไฟล์รายการหัก กยศ. จากเงินเดือนพนักงาน ผ่านระบบ HumanOS
การหัก กยศ.จากเงินเดือนพนักงาน สามารถเพิ่มรายการใน “รายได้/รายการหัก” ซึ่ง HumanOS รองรับการเพิ่มหรือปรับลด รายได้หรือรายการหักเพิ่มเติมของรายการการเงินเดือนพนักงานของแต่ละบุคคลระหว่างการสร้างรายการเงินเดือน หรือ ค่าจ้างพนักงาน สามารถเพิ่มได้ทั้งก่อนและหลังการคำนวณเงินเดือน นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มรายการรายได้และรายการหักอื่นๆ เช่นค่าคอมมิชชั่น ค่าอุปกรณ์ ค่าเดินทาง และอื่นๆ
นอกจากสามารถสะดวกที่จะเพิ่มรายได้ รายการหัก ต่างๆแล้ว HumanOS ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่คอยช่วยสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ เพิ่มลดการทำงาน มีเวลาไปโฟกัสกับธุรกิจมากขึ้น ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ HR ยุคใหม่