ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า นวัตกรรมระบบภาษี ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) เป็นหนึ่งในระบบภาษีที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้น ในการเปลี่ยนแปลงการทำงานสู่ดิจิทัล โดยให้ผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่าย
ก่อนหน้านี้ การจัดการภาษี ณ ที่จ่ายเป็นอย่างไร ?
- ผู้จ่ายเงินต้องยื่นแบบแสดงรายการ และนำส่ง ภาษี ณ ที่จ่ายให้กรมสรรพากร
- ผู้จ่ายเงินจะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานหนังสือรับรองให้ผู้รับเงินเอง
ดังนั้น การจัดการภาษี ณ ที่จ่าย จึงมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมาก อีกทั้งยังมีต้นทุนที่สูง ไม่ว่าจะเป็น กาจัดเก็บเอกสาร หรือ การเดินทางมาจัดการเอกวารที่กรมสรรพากรก็ตาม
e-Withholding Tax คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ?
e-Withholding Tax คือ นวัตกรรมระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง 4 ฝ่าย
1.ผู้จ่ายเงิน
2.ธนาคารผู้ให้บริการระบบ
3.ผู้รับเงิน ซึ่งเป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
4.กรมสรรพากร
ขั้นตอนการจัดการภาษี ณ ที่จ่าย
-ผู้จ่ายเงินจ่ายเงินผ่านธนาคารพร้อมแจ้งข้อมูลที่กำหนด
-เมื่อธนาคารได้รับเงิน ก็จะออกหลักฐานเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้จ่ายเงิน และผู้รับเงิน/
-หลังจากนั้นธนาคารจะจ่ายเงินหลังหักภาษีให้แก่ผู้รับเงิน
-ธนาคารจะนำส่งข้อมูลและภาษีที่หักไว้ไปยังกรมสรรพากร ไม่เกิน 4 วันทำการ ถัดจากวันที่ธนาคารได้รับเงิน
-กรมสรรพากรออกใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู่จ่ายเงิน
**ถ้านำส่งภาษี ณ ที่จ่ายขาดไป ก็สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนเดิม
ประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับ
-ลดขั้นตอน : ไม่ต้องจัดทำ ไม่ต้องยื่นแบบฯ ไม่ต้องนำส่งหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย
-ลดต้นทุน : ไม่ต้องจัดเก็บ ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมแบบ
-ลดภาษี : จากอัตรา 3% เหลือ 2% (เฉพาะการจ่ายในช่วง 1 ตุลาคม 63-31 ธันวาคม 64)
-ดีต่อผู้ใช้ : สามารถตรวจสอบข้อมูลภาษีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทาง www.rd.go.th
ธนาคารที่เปิดให้บริการ มี 11 ธนาคาร ได้แก่ กรุงไทย กสิกรไทย ธกส. กรุงเทพ มิซูโฮ กรุงศรีอยุธยา ไทยพาณิชย์ ซูมิโตโม มิตซุย สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ทหารไทย และ แลนด์แอนด์เฮ้าส์
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนใช้งานระบบ e-Witholding Tax กับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือที่ศูนย์สารนิเทศสรรพกร โทร.1161
ที่มา : https://techsauce.co/news/rd-launching-e-witholding-tax?fbclid=IwAR39cQ_e83ERCsyBx-VRJDoC4LdU1kZOUVS5LIMRx5B8Bbi-sYM7w93poCI#