สิทธิพิเศษ! ยกเว้นภาษีเงินได้ 190,000 บาท แก่ผู้สูงอายุ 65 ปี และผู้พิการ

ใครที่มีบิดามารดาอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปหรือเป็นคนที่ต้องดูแลผู้พิการในครอบครัว หากต้องกรอกภาษีเงินได้ให้กับคนกลุ่มนี้ อย่าพลาด! เช็คสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายที่ได้รับ  นั่นคือ สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 190,000 บาทแบบฟรีๆ

เพราะคนสูงวัยและผู้พิการนับเป็นกลุ่มเปราะบางที่ควรได้รับสิทธิพิเศษทางสังคม ดังนั้น ในปี 2548 รัฐบาลจึงประกาศให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 190,000 บาทแก่ผู้สูงวัยที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ และต่อมาในปี 2553 ก็มีการยกเว้นภาษีเงินได้ในอัตราเดียวกันให้แก่ผู้พิการเพิ่มอีกหนึ่งกลุ่ม เพื่อช่วยบรรเทาภาษี และเพื่อให้มีเงินใช้ในการดำรงชีพเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม การยกเว้นภาษีเงินได้ หมายถึง การเสียภาษีน้อยลง โดยผู้สูงวัยและผู้พิการสามารถนำเงิน 190,000 บาทไปหักออกจากเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ในกรณีที่มีเงินได้หลายประเภท สามารถนำจำนวนดังกล่าวไปหักจากเงินได้ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะนำมาแบ่งหักจากเงินได้หลายประเภทก็ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ควรใช้สิทธิหักจากเงินได้ประเภทที่หักค่าใช้จ่ายได้น้อยที่สุด และหากใช้สิทธิยังไม่ครบก็เลือกหักจากเงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายน้อยรองลงมาตามลำดับ เพราะเมื่อเงินได้น้อย ก็จะเสียภาษีน้อยลง แต่หากเงินได้มาก ก็ย่อมเสียภาษีมากตามไปด้วย

ตัวอย่างเช่น  

นาง ก อายุครบ 67 ปี มีรายได้จาก 2 ทาง คือ เงินค่าเช่าบ้าน ปีละ 300,000 บาท และเงินจากการเป็นที่ปรึกษาบริษัทแห่งนี้ ปีละ 200,000 บาท นาง ก สามารถนำเงินจำนวน 190,000 หักออกจากเงินได้จากการเป็นที่ปรึกษาบริษัท 200,000-190,000 บาท เหลือเงินได้สำหรับนำไปหักภาษี 10,000 บาท

นาย ข อายุครบ 65 ปี มีรายได้จาก 3 ทาง คือ เงินบำนาญ ปีละ 300,000 บาท ค่าเช่าที่ดิน ปีละ 200,000 บาท และเปิดร้านขายอาหาร ปีละ 400,000 บาท หักยกเว้นเงินได้ 190,000 โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 130,000 บาท และ 60,000 แล้วนำไปหักเงินได้ค่าเช่าที่ดิน 200,000 – 130,000 เหลือ 70,000 บาท และเงินบำนาญ 300,000 – 60,000 เหลือ 240,000 บาท รวมเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด 70,000+240,000+400,000 = 710,000 บาท

กรณีผู้สูงอายุ

  • ต้องมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ในปีที่ยื่นภาษี เช่น อายุครบ 65 ปี ในปี 2567 ก็สามารถใช้ยกเว้นภาษีเงินได้ในปี 2567
  • อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น
  • การใช้สิทธิ์ยกเว้นต้องแสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้นตอนยื่นภาษี

กรณีผู้พิการ

  • มีบัตรประจำตัวคนพิการในปีที่ยื่นภาษี
  • อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น

·   การใช้สิทธิ์ยกเว้นต้องแสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้นตอนยื่นภาษี

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้มีเงินได้ที่ต้องอุปการะหรือมีหน้าที่ดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพในครอบครัว จะสามารถหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพได้คนละ 60,000 บาทสำหรับเงินได้พึงประเมิน เช่น ผู้พิการเป็นบิดามารดา เป็นบิดามารดาของสามีหรือภรรยา เป็นสามีหรือภรรยา เป็นบุตรตามกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม เป็นบุตรตามกฎหมายของสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ หรือในกรณีเป็นบุคลลอื่นที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับผู้มีเงินได้ แต่ผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู จะสามารถนำมาลดหย่อนได้ 1 คน

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=dT5AX4IqEkI,https://www.rd.go.th/60057.html

Recently Post

เเค่เเจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี ก็มีเพิ่มเงินในกระเป๋าทุกเดือน!

มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ คงเคยคิดกันใช่มั้ยว่า จะทำยังไงให้เงินที่หามาโดนหักภาษีน้อยลงอีกนิดหน่อย?...

อ่านเพิ่มเติม
เลือกกองทุนลดหย่อนภาษี เสกเงินให้เติบโตแบบมีความสุข! 

เลือกกองทุนลดหย่อนภาษี เสกเงินให้เติบโตแบบมีความสุข! 

อยากลดภาษีแบบได้เงินออมเพิ่ม ใช้ชีวิตแบบไม่ต้องวุ่นวาย! กองทุนลดหย่อนภาษีในไทยคือคำตอบ  HumanOS...

อ่านเพิ่มเติม