ข้อมูลที่นายจ้างต้องรายงานต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

เป็นเรื่องสำคัญที่นายจ้างต้องรู้ ตามกฎหมายนั้น บริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จะต้องยื่นขอรับรองหลักสูตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานเป็นประจำทุกปี

ตามประกาศของกระทรวงแรงงาน มาตรา 29 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545  กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานแต่ละปีในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของลูกจ้างทั้งหมด 

หากบริษัทไม่จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานหรือจัดฝึกอบรมแต่ไม่ครบตามสัดส่วนที่กำหนด จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ โดยคำนวณจากจำนวนลูกจ้างที่ไม่ได้จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามสัดส่วนที่กำหนด และให้ผู้ประกอบกิจการซึ่งอยู่ในข่ายบังคับยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบและรายงานการฝึกอบรมฝีมือแรงงานภายในเดือนกุมภาพันธ์- 15 มีนาคม (เวลาสามารถยืดหยุ่นได้กรณีฝึกครบสัดส่วน) ของปีถัดไปทุกปี

  1. ผู้ประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือธุรกิจอื่น ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปทุกท้องที่
  2. ผู้ประกอบกิจการใด เมื่อคำนวณลูกจ้างทั้งหมดของผู้ประกอบกิจการในปีนั้นมีลูกจ้างไม่ถึง  100 คน (เฉลี่ยทั้งปี) ไม่ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน แต่ต้องยื่นแสดงแบบประเมินเงินสมทบประจำปีนั้นๆ พร้อมหลักฐานแสดงจำนวนลูกจ้างที่ไม่ถึง 100 คน
  1. นายจ้างที่ประกอบกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ สัตว์เลี้ยงและนาเกลือ  หรือไม่ได้ใช้ลูกจ้างตลอดทั้งปีและไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย
  2.  นายจ้างที่ประกอบกิจการธุรกิจโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะที่เกี่ยวกับครูและครูใหญ่
  1. ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการ เมื่อมีลูกจ้างครบ 100 คน (แบบ สท.1 และ สท.4) ถ้ามีสาขาให้นำจำนวนลูกจ้างของทุกสาขามารวมด้วย
  2. ดำเนินการจัดฝึกอบรมในแต่ละปีให้ครบสัดส่วนร้อยละ 50 ของลูกจ้างทั้งหมด หลังการจัดฝึกอบรมเสร็จสิ้นจะต้องยื่นขอรับรองหลักสูตรและรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานทุกครั้ง การฝึกอบรมเสร็จสิ้นภายใน 60 วัน (แบบ ฝย/ฝป 1 , 2-1 , 3 หรือแบบ ฝย/ฝป 1 , 2-2 และแนบหลักสูตรการฝึกอบรมทุกหลักสูตร)  ทั้งนี้จะต้องยื่นให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคมของทุกปี  ก่อนนำไปประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานหรือขอยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากร
  3.  ยื่นแบบแสดงการจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน (แบบ สท.2) ภายในเดือน มกราคม –  14 เมษายน ของปีถัดไปทุกปี
  4. นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบและเงินเพิ่มในกรณีที่ จ่ายเงินสมทบ กรณีไม่จัดฝึกอบรมหรือจัดฝึกอบรมแต่ไม่ครบสัดส่วนที่กำหนดและจ่ายเงินเพิ่ม กรณีจ่ายเงินสมทบเกินเวลาที่กำหนดหรือจ่ายไม่ครบ
  5. ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างครบ 100 คนมาแล้ว  และต่อมาภายหลังคำนวณลูกจ้างทั้งหมดในปีนั้นแล้วไม่ถึง 100 คน  ให้ยื่นแบบแสดงเงินสมทบประจำปีนั้นๆ เพื่อแจ้งจำนวนลูกจ้าง แต่ไม่ต้องส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน  ยื่นแบบภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปทุกปี
  6. สถานประกอบกิจการใดที่มีหน่วยงานสาขา ให้นำจำนวนลูกจ้างของทุกสาขามาประเมินเงินสมทบรวมกันที่สำนักงานใหญ่

ที่มา : https://www.dsd.go.th/

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม
ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

สำนักงานประกันสังคมเตรียมปรับเพดานค่าจ้างใหม่ 17,500-23,000 บาท เพิ่มบำนาญ-เงินทดแทนให้ผู้ประกันตน...

อ่านเพิ่มเติม