HR ต้องรู้ เมื่อสมรสเท่าเทียมผ่านรัฐสภาไทย

เป็นนิมิตหมายอันดีที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมกำลังจะเกิดขึ้นในสังคมไทย “สมรสเท่าเทียม” เป็นการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อสนับสนุนสิทธิความเท่าเทียมทางเพศของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่ถูกพูดถึงและเป็นที่ถกเถียงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปี 2567 ถือเป็นปีที่มีความสำคัญสำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIAN+ ในประเทศไทย

“สมรสเท่าเทียม” หรือ  พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 หรือ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะมีประโยชน์ในการมอบสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่ทุกเพศ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ไม่ว่าจะเพศสภาพใด ก็สามารถสมรส จดทะเบียนสมรส และเข้าถึงสวัสดิการจากรัฐที่เป็นประโยชน์ได้ ยกตัวอย่าง ดังนี้

  • บุคคลไม่ว่าจะมีเพศสภาพ หรือมีอัตลักษณ์ทางเพศอย่างไร เมื่อจดทะเบียนสมรสกันก็ถือเป็น “คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย”
  • “คู่สมรส” จะไม่จำกัดเฉพาะชาย-หญิง เท่านั้น แต่ครอบคลุมทุกเพศสภาพ
  • ใช้ถ้อยคำที่เป็นกลางทางเพศมากขึ้น เช่น สามี-ภรรยา ปรับเป็น “คู่สมรส”, ชาย-หญิง ปรับเป็น “บุคคล”, บิดา-มารดา ปรับเป็น “บุพการี”
  • ทุกบุคคลจะได้รับความเท่าเทียม และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในการหมั้น, สิทธิจดทะเบียนสมรส, สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส, สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับสามี-ภรรยา, สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต, สิทธิรับบุตรบุญธรรม, สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม, สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย, สิทธิจัดการศพ เป็นต้น
  • ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม, สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
  • คู่สมรสสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ และให้บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลคู่สมรสได้ โดยจะต้องมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
  • มีการปรับอายุขั้นต่ำของบุคคล ในการจดทะเบียนสมรส จากเดิม 17 ปี ขึ้นเป็น 18 ปี เพื่อสอดคล้องกับอนุสัญญาสิทธิเด็ก (หากอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ยังต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม)

ในฐานะฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ผู้ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการดูแลพนักงานของบริษัทควรสนับสนุนให้บริษัทมีการปรับสวัสดิการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคู่สมรสให้เป็นปัจจุบัน และกำหนดแนวทางและนโยบายของบริษัทเมื่อ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” ได้ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ 

  1. คู่เเต่งงานที่เป็นเพศเดียวกัน ควรได้รับสิทธิต่างๆในที่ทำงานเหมือนทุกคน
  2. คู่รักเพศเดียวกันที่แต่งงาน ต้องได้รับสิทธิลางานเพื่อครอบครัวและการลาป่วยเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศที่แต่งงานกัน
  3. ผู้บริหารบริษัท ควรส่งเสริมวัฒนธรรมการยอมรับเมื่อพูดถึงรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ
  4. นายจ้างควรพิจารณาวิธีปฏิบัติเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าสถานที่ทำงานมีความเป็นกลางทางเชื้อชาติ ศาสนา และเพศ เพื่อให้สอดคล้องกับการคุ้มครองรสนิยมทางเพศ
  •  การเพิ่มแนวทางการให้ความรู้เกี่ยวกับรสนิยมทางเพศเข้าในโปรแกรมฝึกอบรมความหลากหลายควรมีอยู่ในทุกบริษัท 
  • ควรมีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องห้ามการพูดจาดูหมิ่นเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศในที่ทำงาน และไม่ควรที่จะล่วงละเมิดผู้อื่นโดยเพียงเพราะรสนิยมทางเพศของพวกเขา 
  • ย้ำเตือนพนักงานเรื่องการการกระทำที่ดูหมิ่นต่อรสนิยมทางเพศของคนในองค์กร
  • บริษัทบังคับใช้นโยบายห้ามการเลือกปฏิบัติโดยอิงตามรสนิยมทางเพศ

หลังจากนี้ กฎหมายสมรสเท่าเทียมกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีการทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไทย หลังจากนั้นกฎหมายจะมีผลบังคับใช้จริง 120 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2420562

www.ilaw.or.th

https://www.industryweek.com

https://www.bbc.com/thai

Recently Post

ภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องจ่ายหรือไม่เมื่อออกจากงาน ?

ภาษีจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องจ่ายหรือไม่เมื่อออกจากงาน ?

กองทุนสำรองสำรองเลี้ยงชีพ คือกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ...

อ่านเพิ่มเติม
เเค่เเจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี ก็มีเพิ่มเงินในกระเป๋าทุกเดือน!

เเค่เเจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี ก็มีเพิ่มเงินในกระเป๋าทุกเดือน!

มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ คงเคยคิดกันใช่มั้ยว่า จะทำยังไงให้เงินที่หามาโดนหักภาษีน้อยลงอีกนิดหน่อย?...

อ่านเพิ่มเติม