กองทุนเงินทดแทน อีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างต้องรู้

กองทุนเงินทดแทน เป็นอีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง มีความต่างจากกองทุนประกันสังคมตรงที่ นายจ้างจะเป็นคนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่ประกันสังคมจะเป็นการหักจากเงินเดือนของลูกจ้างทุกๆ เดือน ซึ่งในปัจจุบันบริษัทที่มีลูกจ้างแม้เพียง 1 คน นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนตามกฎหมาย

กองทุนเงินทดแทนคือ กองทุนที่จะจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างเกิดอันตรายจากการทำงานให้นายจ้าง เช่น เจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต และสูญหาย อยู่ภายใต้สำนักงานประกันสังคม โดยการจ่ายเงินทดแทนนั้น จะไม่คำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ แต่จะดูจากสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุว่า ควรจ่ายเงินทดแทนยังไง ทั้งนี้ กองทุนเงินทดแทนจะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างใน 4 กรณี ต่างจากกองทุนประกันสังคมที่ให้ความคุ้มครอง 7 กรณี เปรียบเทียบได้ดังนี้

ลูกจ้างมีสิทธิได้รับการคุ้มครองทันที นับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานให้นายจ้าง โดยจะขอรับประโยชน์ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้

1. ได้รับอันตรายจากการทำงาน คือ ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อร่างกายหรือผลกระทบต่อจิตใจหรือถึงแก่ความตายจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้นายจ้างหรือทำตามคำสั่งของนายจ้าง

2. เจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการทำงาน คือ สาเหตุของการเจ็บป่วยเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน ซึ่งปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมและกระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงานทั้งหมด 133 แห่งทั่วประเทศ โดยมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยโรค เช็ค คลินิกโรคจากการทำงาน ทั่วประเทศ

3. ลูกจ้างสูญหายไปในระหว่างทำงาน และมีเหตุให้เชื่อได้ว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน รวมไปถึงการที่ลูกจ้างหายไประหว่างเดินทางไปทำงานด้วยยานพาหนะทางบก อากาศ และทางน้ำ ซึ่งมีเหตุเชื่อว่าพาหนะนั้นประสบเหตุอันตรายและลูกจ้างถึงแก่ความตาย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ

อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างได้รับอันตรายและต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล นายจ้างต้องแจ้งเหตุภายใน 15 วัน ส่วนกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ต้องแจ้งภายใน 2 นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

อย่างที่บอกไปว่า กองทุนเงินทดแทนมาจากเงินสมทบ ที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว โดยจะมีการเรียกเก็บเงินจากนายจ้างป็นรายปี (จ่ายปีละครั้ง) ซึ่งในปีแรกนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีลูกจ้าง 1 คนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ส่วนในปีต่อๆ ไปจะต้องจ่ายภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี 

ทั้งนี้ จำนวนเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ทั้งปีรวมกันคนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการระหว่างอัตรา 0.2-1.0% โดยนางจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายเงินสมทบในอัตราที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัยตามรหัสประเภทกิจการของนายจ้าง

สรุป กองทุนเงินทดแทนถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับแบบ 100% นับเป็นกองทุนฯ ที่สร้างความอุ่นใจให้กับชีวิตลูกจ้าง และช่วยเซฟนายจ้างในกรณีที่บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินค่าชดเชยต่างๆ ได้ทั้งหมด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506

ที่มา

https://bit.ly/3Us3EFu

https://www.thaipfa.co.th/news/view/191

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม