‘ลูกจ้าง’ ต้องรู้ ลากิจ-ลาป่วย ทำได้! แม้อยู่ระหว่างช่วงทดลองงาน

หลายคนอาจสงสัยว่าในระหว่างการทดลองงาน หากเรามีความจำเป็นต้องลางานจะถูกหักเงินเดือนหรือไม่? คำตอบคือ การลาป่วยหรือลากิจสามารถทำได้และยังได้รับค่าจ้างตามปกติ

  • “ลูกจ้าง” มีสิทธิในการ “ลากิจ” และ “ลาป่วย” ได้ตามกฎหมายแรงงาน แม้ว่าจะอยู่ระหว่างช่วงทดลองงาน
  • การ “ลางาน” เมื่อมีเหตุจำเป็นขณะที่อยู่ระหว่างการทดลองงาน ยังสามารถรับค่าจ้างได้ตามปกติ โดยมีเงื่อนไขกำหนด
  • ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี และมีสิทธิลากิจได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี แต่หากพบว่า “ลาเท็จ” นายจ้างอาจพิจารณาให้ไม่ผ่านการทดลองงาน

ที่ผ่านมามีหลายครั้งที่ลูกจ้างตั้งคำถามว่า ในระหว่าง “ช่วงทดลองงาน” หรือที่เรียกกันว่า “ยังไม่ผ่านโปร” (Probation) หากมีความจำเป็น จะสามารถลากิจหรือลาป่วยได้หรือไม่? และที่สำคัญเมื่อลาแล้วจะถูกหักเงินเดือนตามจำนวนชั่วโมงหรือวันที่ลาไปหรือไม่ ?

แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะระบุชัดเจนในสัญญาการจ้างงานว่า ลูกจ้างจำเป็นต้องผ่านการทดลองงานก่อน หรือต้องทำงานครบหนึ่งปีก่อน ถึงจะมีสิทธิใช้วันลาได้ แต่ความจริงแล้วเมื่อลูกจ้างมีความจำเป็นต้อง “ลากิจ” หรือ “ลาป่วย” ก็สามารถทำได้ เพราะสิทธิในวันลาทั้งสองประเภทนี้ไม่เหมือนกับ “วันลาหยุดพักผ่อนประจำปี” หรือ “พักร้อน” ที่จะลาได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามที่องค์กรกำหนดเท่านั้น

ข้อมูลของ กระทรวงแรงงาน ระบุว่า “ลูกจ้าง” ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงการทดลองงานหรือได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำแล้ว ก็ย่อมได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 34 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 หมายความว่า ลูกจ้างที่อยู่ระหว่างทดลองงานก็สามารถ “ลางาน” ได้เหมือนกัน หากมีกิจธุระที่จำเป็นจริงๆ โดยไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ รวมถึงการลาป่วย

สำหรับสิทธิในการลางานของลูกจ้างที่ยังไม่ผ่านโปรนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้

– ลูกจ้างจึงมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี (มาตรา 32 และ 57)

– ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี (มาตรา 34 และ 57/1)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/health/labour/1089340

Recently Post

คำนวณเงินเดือนด้วยระบบ Payroll ตัดจบปัญหาจ่ายช้า ข้อมูลผิดพลาด และข้อพิพาททางกฎหมาย

คำนวณเงินเดือนด้วยระบบ Payroll ตัดจบปัญหาจ่ายช้า ข้อมูลผิดพลาด และข้อพิพาททางกฎหมาย

หมดยุคของการทำงานซ้ำซ้อน ยุ่งยาก และหลายขั้นตอนอีกแล้ว เมื่อทุกวันนี้หลายองค์กรหันไปใช้ระบบ...

อ่านเพิ่มเติม
ทำไมการลงทุนในระบบ HR ของ HumanOS จึงคุ้มค่าต่อธุรกิจ

ทำไมการลงทุนในระบบ HR ของ HumanOS จึงคุ้มค่าต่อธุรกิจ

เดิมที เรามักคุ้นชินกับองค์กรธุรกิจที่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคจำนวนหลายคนนั่งอยู่รวมกันเป็นแผนกใหญ่...

อ่านเพิ่มเติม