จัด Team Building อย่างไร ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กร

HIGHLIGHT

  • การสร้าง Team Building ทำให้พนักงานเกิดความเชื่อใจ (Trust) และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นง่าย ๆ และในแต่ละออฟฟิศก็ย่อมมี Culture ของตัวเองเสมอ 
  • ที่ผ่านมาการสร้างทีม (Team Building) อาจเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมร่วมกัน การไปออก Outing การจัด Party หลังจบงานต่าง ๆ แต่ในความจริงแล้ว HR ต้อง Define ให้ได้ก่อนว่า รูปแบบ Culture ขององค์กรเรานั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร และแต่ละทีมมีลักษณะพิเศษที่สำคัญอย่างไรบ้าง
  • การค้นหากิจกรรมและการจัดการสร้างทีมที่ดีไม่จำเป็นต้องเกิดในที่ทำงานเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีการเสริมสร้างทีมอย่าสม่ำเสมอ เพราะมากกว่าการสร้างคือการ Maintain ให้ความสัมพันธ์ยังแน่นแฟ้นและการทำงานยังคงเป็นไปได้อย่างราบรื่นและดีมากยิ่งขึ้น
  • HR และ Manager ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างกิจกรรมและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากพนักงานในการทำ Team Building อย่าปล่อยปะละเลยเรื่องของทีมและหมั่น Check สภาพจิตใจกันอย่างสม่ำเสมอด้วย

ถ้าพูดถึงเรื่องของการสร้าง Team Bonding / Team Building ภาพในหัวของพวกเราหลาย ๆ คนก็คงไม่พ้นการ ไป Outing ต่างจังหวัด’ ‘จัดปาร์ตี้หลังจบโปรเจกต์’ ‘การเข้า Training’ และก็อาจจะมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกบ้าง

แต่บางครั้งหลังเราเข้ากิจกรรมเหล่านี้แล้วก็อาจมี Feedback กลับมาว่า ไม่เห็นได้อะไรกลับมา หรืออาจจะไม่ได้รู้สึกว่าสนิทกับเพื่อนร่วมงานมากขึ้นตรงไหน บางคนอาจถึงขั้นรู้สึกติดลบกับบางกิจกรรมไปเลยก็ได้ ในบางครั้งการสร้าง Team Building รูปแบบหนึ่งอาจจะ work กับองค์กรอื่นมาก ๆ  แต่ก็ไม่ได้ผลอะไรกับองค์กรของเรา

นั่นเป็นเพราะแต่ละออฟฟิศมีวัฒนธรรมในการทำงานที่แตกต่างกันนั่นเอง

ก่อนจะทำอะไร Define วัฒนธรรมองค์กรของตัวเองให้ได้ก่อน

การที่ HR จะรู้ได้ว่าวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองเป็นอย่างไร ต้องเริ่มจากการรู้ก่อนว่ารูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่อยากให้เป็นมีรูปแบบเป็นอย่างไร แล้วสังเกตว่าแล้วจริง ๆ ในปัจจุบันวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำงาน Value ในการทำงาน การเลือกมาตรวัด KPI (Key Performance Indicator) หรือ OKR (Objective and Key Results)

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการทำ Internal Survey เพื่อทำความเข้าใจพนักงานและการให้ความสำคัญกับ Exit Interview ด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้พนักงานสามารถแสดงออกถึงทั้งข้อดี-ข้อเสีย Culture ในมุมมองของพนักงาน และจุดบอดในออฟฟิศที่ HR และ Manager สามารถนำมาคิดเพื่อปรับปรุงได้อีก

แล้วจะสร้างทีม (Team Building) ยังไงให้ ‘Fit’ กับ Culture

เมื่อสามารถ Define รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรได้แล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องคิดก็คือ แล้วเราจะสร้างทีมอย่างไรถึงจะเข้ากับทีมและเพิ่ม Trust และ Relationship ให้กับทีมได้จริง ๆ ไม่ใช่แค่การเจอกันแบบผิวเผินหรือการทำกิจกรรมที่บางครั้งกลายเป็นสร้างความร้าวฉานยิ่งกว่าเก่า สิ่งที่ดูเป็นสิ่งที่ Basic ที่สุดในการคิดคือ กิจกรรมควรจัดขึ้นยิ่งใหญ่หรือใช้พลังงานในการเข้าร่วมมากแค่ไหน

ถ้าเราให้ทีมที่เป็นคนที่ Extrovert มาก ๆ ใช้พลังงานในหนึ่งวันเยอะ ๆ ไปนั่งทำกิจกรรมเงียบ ๆ ที่ไม่ได้มีการพูดคุยอะไรกับใครมากมายก็คงไม่เวิร์ค หรือให้คนที่เป็น Introvert จ๋าไปทำกิจกรรมที่ต้องเต้น ต้องพูด ต้องเข้าสังคมจนเยอะเกินความจำเป็นก็คงไม่ไหวเช่นเดียวกัน 

แต่เมื่อในทีมก็คงมีคนหลายประเภทรวมอยู่ด้วยกันก็ต้องเป็นหน้าที่ของ HR แล้วที่จะหาตรงกลางสำหรับการทำกิจกรรมร่วมกันของพนักงาน ให้เหมาะกับทั้ง Personality และ รูปแบบการทำงานที่ต่างกันด้วย เพราะคงไม่อยากมีใครถูก Left Out (ทำให้รู้สึกแปลกแยกออกจากกลุ่ม) ไปในกิจกรรม Team Building หรอกนะคะ

นอกจากการสร้างทีมแล้ว (Team Building) การรักษาความสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งสำคัญ

การสร้างความสัมพันธ์ไม่ใช่แค่เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วก็จบไป คนเราไม่ว่าจะรู้สึกสนิทกันมากแค่ไหนในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปหากไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันหรือไม่หมั่นพูดคุยกัน ไม่สร้างความเชื่อใจให้เกิดขึ้นในทีม สุดท้ายแล้วทีมที่สร้างมา ส่งผลต่อ Collaboration หรือความร่วมมือภายในทีมก็อาจหายไปได้ด้วย ดังนั้น HR และ Manager จึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างและหล่อเลี้ยงทีมให้ทำงานร่วมกันได้ดีต่อไป

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม
ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

สำนักงานประกันสังคมเตรียมปรับเพดานค่าจ้างใหม่ 17,500-23,000 บาท เพิ่มบำนาญ-เงินทดแทนให้ผู้ประกันตน...

อ่านเพิ่มเติม