HROD คืออะไร เกี่ยวข้องกับงาน HR อย่างไรบ้าง

HROD ย่อมาจาก Human Resource and Organization Development หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เป็นกระบวนการพัฒนาทั้งบุคลากรและองค์กรให้มีประสิทธิภาพและสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ HROD คือการพัฒนาทั้งในด้านบุคลากรและองค์กร โดยมุ่งเน้นที่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานกับองค์กร เพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพันและมีส่วนร่วมในการทำงาน

มีต้นกำเนิดหรือเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า OD (Organization Development) OD คือแนวคิดที่มีมาตั้งแต่ปี 1969 โดย Richard Beckhard  OD เป็นแนวคิดเชิงระบบที่มุ่งปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์กรเพื่อเป้าหมายในเชิงกลยุทธ์ ผลลัพธ์และประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ที่กล่าวว่า OD เป็นแนวคิดเชิงระบบเพราะอาศัยการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ทำเป็นกระบวนการที่เป็นระบบซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 

• การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์กร
• การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์กร
• การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้กับองค์กร (Feedback) 
• สำรวจปัญหาขององค์กรจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด
• วางแผนปฏิบัติการ ติดตาม ควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติการนั้นๆ และลงมือปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาตามแผนงานที่กำหนดไว้

มีผู้เชี่ยวชาญได้จัดประเภทหรือหมวดหมู่ของแนวคิด แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรไว้ 4 ประเภท ได้แก่

1. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์ของคน (Human process)
2. การจัดการโครงสร้างและระบบ (Techno-structure)
3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
4. การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic management) 

จะเห็นว่าแนวปฏิบัติต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์กรนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “คน” ทั้งนั้น ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่งานบุคคลจะเป็นส่วนหนึ่งของงาน OD ไปแบบแยกกันไม่ออก แต่ก็ไม่ใช่ว่างาน HR คือ งาน OD เสียทีเดียว เพราะมันก็มีข้อแตกต่างกันในบางส่วน คือ OD จะมุ่งหาวิธีการ กระบวนการวิเคราะห์พฤติกรรมของคน และจัดหาระบบหรือเครื่องมือในการปรับปรุงและสร้างการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ในทางที่ดีขึ้น โดยมากผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับ OD จะใช้เครื่องมือหลัก ๆในการทำงานได้แก่ การประเมิน (Assessment) และการจัดทำเครื่องมือสอดแทรก (Intervention) นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับคนที่ทำงานด้าน OD หรือ Global OD Competency Framework™ เอาไว้ด้วย ได้แก่ 

• Systems Change Expert (ผู้เชี่ยวชาญการเปลี่ยนแปลงระบบ
• Efficient Designer  (นักออกแบบงานให้มีประสิทธิภาพ)
• Business Advisor  (ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ)
• Credible Strategist (นักกลยุทธ์ที่มีความน่าเชื่อถือ)
• Informed Consultant (ผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้)


อ้างอิงจาก :
• https://qath.hrnote.asia/questions/804
• https://www.truedigitalacademy.com/
• https://www.odnetwork.org/page/global-framework

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม
ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาทต่อเดือน

สำนักงานประกันสังคมเตรียมปรับเพดานค่าจ้างใหม่ 17,500-23,000 บาท เพิ่มบำนาญ-เงินทดแทนให้ผู้ประกันตน...

อ่านเพิ่มเติม