5 ขั้นตอนปรับ Mindset สำหรับคนทำงานที่อยากพัฒนาตัวเอง

Mindset เป็นคำศัพท์ที่นำมาใช้กันบ่อยขึ้นในแง่การสร้างแรงจูงใจและพัฒนาตนเอง โดยศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ ให้คำนิยามไว้ว่า Mindset หรือ “กรอบความคิด” สิ่งสำคัญคือ Mindset นั้นมีความหมายลึกซึ้งกว่าคำว่า “ความเชื่อ (Belief)” ทั่ว ๆ ไป เพราะ Mindset คือ “ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม” ซึ่ง Mindset จะมีอยู่ 2 แบบ คือ Growth Mindset (กรอบแนวคิดแบบเปิดกว้าง) และ Fixed Mindset (กรอบความคิดแบบปิดตาย)

  • Mindset คือ กรอบความคิด มีความหมายลึกซึ้งกว่าคำว่า “ความเชื่อ (Belief)” ทั่ว ๆ ไป เพราะมันคือ “ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม” ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ Growth Mindset (กรอบแนวคิดแบบเปิดกว้าง) และ Fixed Mindset (กรอบความคิดแบบปิดตาย)
  • คนที่ประสบความสำเร็จนั้นจะมี Growth Mindset คือ เชื่อว่าตัวเองสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่ยังบกพร่องอยู่ได้ ส่วนคนที่มี Fixed Mindset มักจะเชื่อว่าคนเรามีทักษะที่จำกัด ไม่สามารถที่จะพัฒนาขึ้นได้แล้ว
  • ขั้นตอนแรกของการปรับ Mindset คือ การฟังเสียง Mindset ของเรา ว่าบอกให้เราทำอะไรเมื่อเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ ถ้าเสียงในหัวเราบอกให้ยอมแพ้แสดงว่าเราอาจเป็นคนที่มี Fixed Mindset
  • ถ้าเสียงในหัวเรามีทั้ง Fixed Mindset และ Growth Mindset ให้เราเลือกที่จะฟัง Growth Mindset
  • ถ้าเราเป็นคนที่มี Fixed Mindset ให้เริ่มเปลี่ยนความคิดด้วยการใช้ Growth Mindset เถียงกลับ
  • เปลี่ยนความคิดแล้ว ก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการหมั่นฝึกฝนผ่านการลงมือทำ
  • ถ้าสิ่งที่ทำไม่ประสบผลสำเร็จ ให้บอกตัวเองว่า “เรายังทำไม่ได้” ไม่ใช่ “เราทำไม่ได้”

จากงานวิจัยของ Carol Dweck นักจิตวิทยาพบว่า คนที่ประสบความสำเร็จนั้นจะมี Mindset คนละแบบกับคนทั่วไป โดยคนที่ประสบความสำเร็จจะมี Mindset แบบ Growth Mindset พวกเขาเชื่อว่าตัวเองสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่ตัวเองบกพร่องได้ ในขณะที่คนทั่วไปมักมี Fixed Mindset หรือคิดว่าคนเรามีทักษะที่จำกัด ไม่สามารถพัฒนาได้แล้ว

ไม่ว่าเราจะมี Mindset แบบไหนก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะพื้นฐานของมนุษย์เราอยากอยู่ในที่ที่เคยชิน ไม่อยากจะเสี่ยง แต่สำหรับคนทำงานแล้วการมี Growth Mindset จะทำให้เรามีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น ดังนั้นลองมาตรวจสอบตัวเองว่าเรามี Mindset แบบไหน แล้วถ้าอยากจะพัฒนา Mindset ของเรา จะมีวิธีการอย่างไรได้บ้าง

ฟังเสียง Mindset

ขั้นตอนแรกคือเราต้องรู้ Mindset ของเราว่าเป็นแบบไหน ลองคิดดูว่าถ้า Mindset เป็นคน ๆ นึงในหัวของเราเขาจะพูดกับเราว่ายังไง เมื่อต้องเจองานใหม่ที่ท้าทายแล้ว Mindset พูดกับเราว่า “จะทำได้เหรอ” “เก่งพอหรือเปล่า” “ถ้าพลาดนี่อายนะ” ถ้าได้ยินคำพูดเหล่านี้ออกมาจากหัวเราบ่อย ๆ เรามีแนวโน้มว่าจะเป็นคนที่มี Fixed Mindset ซึ่งจะทำให้ไม่กล้าพัฒนาตนเอง และมันอาจทำให้อาชีพการงานถึงทางตันได้ง่าย ๆ เลย

เลือกที่จะฟัง Growth Mindset

เมื่อเรารู้แล้วว่า Mindset ของเราเป็นแบบไหนต่อมาคือหาสาเหตุให้ได้ว่าสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองคืออะไร ถ้าหากพบแล้วก็ขึ้นอยู่กับการตีความของเราแล้วว่า เราจะมองสิ่งนั้นเป็นอุปสรรคที่จะทำให้เราพลาดท่าต้องหลีกเลี่ยง หรือมองเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้พัฒนาทักษะใหม่ ๆ ถ้าเราเลือกอย่างแรกนั่นคือเราใช้ Fixed Mindset แต่ถ้าเราเลือกอย่างหลังเรากำลังก้าวเข้าสู่การใช้ Growth Mindset แล้ว

เถียงกลับ

Mindset เป็นสิ่งที่ติดตัวเรามานาน การจะปรับเปลี่ยนให้ได้ในความพยายามครั้งแรกนั้นเป็นไปยากมาก Fixed Mindset ที่อยู่ในหัวเราจะคอยมาพูดกับเราตลอดเวลา วิธีการจัดการก็คือการเถียงกลับไป เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทาย Fixed Mindset จะส่งเสียงมาหาเรา ให้เราตอบกลับเสียนั้นไปด้วย Growth Mindset เช่น

  • Fixed Mindset ในหัวบอกว่า: จะทำงานนี้ได้หรอ ความสามารถไม่น่าถึงนะ
  • Growth Mindset ตอบกลับไปว่า: ก็ไม่แน่ใจ แต่ถ้าพยายามก็น่าจะเรียนรู้ได้
  • Fixed Mindset ในหัวบอกว่า: ถ้าพลาดขึ้นมา อายเขานะ
  • Growth Mindset ตอบกลับ: ไม่มีใครไม่เคยทำพลาด เราเรียนรู้จากมันได้

ลงมือทำ

เป้าหมายการเปลี่ยน Mindset ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนความคิด แต่ต้องส่งผลถึงพฤติกรรมด้วย สิ่งที่ทำให้เราติดอยู่กับ Fixed Mindset เป็นเพราะว่าไม่กล้าที่จะออกจาก Comfort Zone เมื่อเราเปลี่ยนเสียงของ Growth Mindset ให้เป็นพฤติกรรมได้ รู้สาเหตุว่าอะไรที่เราบกพร่องทำให้เราไม่มั่นใจ เราก็หาวิธีฝึกฝนในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้เราสามารถขยาย Comfort Zone ของเราออกไปได้ ความสามารถในการพัฒนาตนเองเราก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย

ไม่มีอะไร “ทำไม่ได้” มีแค่ตอนนี้ “ยังทำไม่ได้”

เราต้องยอมรับว่าในหลายเรื่องเราไม่อาจประสบผลสำเร็จได้ทันทีอย่างที่คิด เมื่อทำแล้วผิดพลาด อาจจะยิ่งตอกย้ำแล้วพาเรากลับไปอยู่ Fixed Mindset อีกครั้ง สิ่งที่เราจะทำได้เมื่อการเปลี่ยนแปลงไม่ประสบผลสำเร็จก็คือ บอกตัวเองว่ามันก็แค่เรายังทำไม่ได้ในตอนนี้ ไม่ใช่ว่าเราทำมันไม่ได้เลย การเติมคำว่ายังเข้าไป จะช่วยเปลี่ยน Mindset ของเราให้กลายเป็น Growth Mindset ได้ ตัวอย่างเช่น เราทำไม่ได้ จะทำให้เราหยุดพัฒนาตนเองเป็น Fixed Mindset แต่ถ้าเราพูดว่าตอนนี้ยังทำไมได้ โดยนัยของมันแล้วหมายความว่ามันจะมีโอกาสทำได้ในอนาคต ซึ่งคือ Growth Mindset นั่นเอง

Mindset มีผลมากกับกระบวนการทางความคิดและการตัดสินใจของเราในอนาคต ดังนั้นลองเปลี่ยนความคิดจากการติดอยู่ในกรอบ Mindset เดิม ๆ แล้วก้าวออกมาพัฒนา Mindset ของตัวเองให้เป็น Growth Mindset หรือแนวความคิดที่มองว่าอุปสรรคไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นโอกาสที่ทำให้เราได้ ‘ลอง’ สิ่งใหม่ เราเชื่อเสมอว่าโลกใบนี้ไม่เคยหยุดนิ่ง เพราะฉะนั้นมนุษย์เองก็ไม่ควรหยุดพัฒนาเช่นกัน

ขอบคุณบทความจาก : https://blog.jobthai.com/career-tips/

Recently Post

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

เงินค่าน้ำมันและค่าโทรศัพท์ เป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณในฐานค่าชดเชยไหม ?

ยุคนี้ ไม่เพียงแต่เงินเดือนเท่านั้นที่จูงใจให้พนักงานอยากอยู่ต่อ แต่สวัสดิการดีๆ...

อ่านเพิ่มเติม